กลยุทธ์ที่ 1 เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน
1.1 ผู้เรียนระดับการศึกษาภาคบังคับได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคจนจบการศึกษาภาคบังคับ
1.2 ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้รับการส่งเสริมและโอกาสทางการศึกาาตามความสามารถ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนจนจบหลักสูตรการศึกษา
1.3 เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
1.4 ผู้เรียนมีความสามารถพิเศษได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
1.5 ผู้เรียนกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคันได้รับการช่วยเหลือกลับเข้าสู่รับบการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 2 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
2.1 ผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่
อย่างมีความรับผิดชอบ มีติตสาธารณะ มีความรักและภูมิใจในความเป็นไทย
2.2 ผู้เรียนมีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาตร์ ภาษา ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฎศิลป กีฬา และด้านอื่นๆ ตามความถนัดและความสนใจสู่ความเป็นเลิศ
2.3 ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเสมอภาค มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และความปลอดภัยในสถานศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
และพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
2.4 ครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล สร้างและพัฒนานวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพมีระบบการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย และพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
2.5 ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐาน
วิชาชีพ และจิตวิญญาณความเป็นครู
2.6 ผู้บริหารเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความสามารถในการสื่อสาร ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล
2.7 ผู้บริหารเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีสมรรถนะความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ และจิตวิญญาณ
ความเป็นครู
2.8 สถานศึกษามีคณะกรรมการบริหารความสุขและความปลอดภัย ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการดูแลความปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ
และสามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ
2.9 สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.10 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีระบบบริหารจัดการ สถานศึกษามีระบบบริหารสถานศึกษาระบบการจัดการเรียนรู้และระบบสารสนเทศที่ทันสมัย
และมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการาบริหารจัดการศึกษา
3.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีระบบบริหารจัดการ สถานศึกษามีระบบบริหารสถานศึกษา ระบบการจัดการเรียนรู้และระบบสารสนเทศที่ทันสมัย
และมีประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศีกษา
3.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีระบบบริหารอัตรากำลัง รวมทั้งบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่า
กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ
4.1 ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจในภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทุกรูปแบบได้รับการดูแลความปลอดภัย และสามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่
และโรคอุบัติซ้ำ
4.2 สถานศีกษามีคณะกรรมการบริหารความสุขและความปลอดภัย ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกเพื่อความปลอดภัยของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา และมีการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1. ปลูกฝังคนดี
1.1 กิจกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.2 ค่านิยม 12 ประการ
1.3 การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10
1.3.1 ทัศนคติที่ถูกต้องตามบ้านเมือง
1.3.2 มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง
1.3.3 มีคุณธรรม
1.3.4 มีงานทำ
1.3.5 มีอาชีพ
1.3.6 เป็นพลเมืองที่ดี
1.4 โรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวิถัพุทธ โรงเรียนสุจริต
1.5 สภานักเรียน
1.6 TO BE NUMBER ONE
1.7 ลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน
2. ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
3. ดูแลช่วยเหลือนักเรียน
4. พัฒนาผู้เรียนด้านการอ่านคล่อง เขียนคล่อง ด้วยคลินิกรักษ์ภาษาไทย
5. พัฒนาความสามารถผู้เรียนตามแนวทางการประเมิน PISA
6. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านวิชาการ การทดสอบทางการศีึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET (ม.3)
7. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านวิชาการ ในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ในสาขาวิทย์ – สุขภาพ และสาขาที่ผู้เรียนมีความถนัดและสนใจ